PayPal เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของโลก และมีตัวแทนกับบริการมากมาย ที่สำคัญเลยก็คือ PayPal มีพ่อค้าแม่ค้ามากกว่า 28 ล้านราย
แต่นอกจาก PayPal แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับรายใหญ่อย่าง Sony หรือ Microsoft ผู้ให้บริการรายย่อยไม่ได้มีเวลาในการเตรียมรับมือเหตุการณ์ความปลอดภัยไซเบอร์ หรือผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันองค์กรจากการโจมตีและแฮกเกอร์
ชำระเงินเกิน (Overpayment)
กลโกงมาตรฐานที่มิจฉาชีพออนไลน์ใช้กัน ไม่ได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มของ PayPal ในหลายแพลตฟอร์มก็มีกลโกงแบบเดียวกันนี้ โดยพวกเขาจะส่งสลิปการชำระเงินเข้ามาให้พ่อค้าแม่ค้าโดยแจ้งว่าพวกเขาชำระเงินเกิน หรือชำระเงินไม่ถูกต้อง และต้องการให้พ่อค้าแม่ค้าโอนส่วนต่างกลับคืนมาให้พวกเขา
โดยที่จริงแล้วพวกเขาไม่ได้โอนเงินตั้งแต่แรก หรือโอนมาจำนวนน้อยกว่านั้น และตัดต่อภาพสลิปก่อนที่จะส่งให้กับผู้ขาย วิธีการที่จะรับมือผู้ขายจะต้องตรวจสอบจำนวนเงินที่ชำระเข้ามาให้ถี่ถ้วน
ส่งหรือไม่ส่ง
กลโกงนี้เป็นกลโกงการขนส่งที่มิจฉาชีพใช้ โดยพวกเขาจะพยายามโน้มน้าวให้ผู้ขายใช้บัญชีขนส่งของพวกเขา ซึ่งได้รับส่วนลดมากกว่าปกติ หากผู้ขายหลงกลสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ พวกเขาจะส่งของไปยังพื้นที่ๆใกล้เคียง นี่เป็นสาเหตุที่ค่าบริการถูกกว่าปกติ แล้วทำเหมือนของชิ้นนั้นไม่ได้ถูกส่งตั้งแต่แรก กลับมาทางฝั่งผู้ขายก็ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เพราะใช้บัญชีของมิจฉาชีพ ซึ่งทำให้เสียทั้งของและเงินค่าบริการ
วิธีการรับมืออาจไม่ยากอย่างที่คิด ใช้งานผู้ให้บริการที่คุณคุ้นเคย และใช้บัญชีของตัวเองเท่านั้นในการดำเนินการส่งของ สุดท้ายจงระมัดระวังข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง
หลอกลวงข้อมูล (Phishing)
PayPal เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ถูกแฮกเกอร์โจมตีมากที่สุด เหตุผลง่ายๆก็คือพวกเขามีผู้ใช้มากมาย กลโกงหลอกข้อมูลที่พวกเขาใช้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นการส่งข้อความไปยังผู้ขายว่า บัญชี PayPal ของคุณถูกระงับการใช้งาน และบีบให้ผู้ขายส่งข้อมูลล็อคอินให้พวกเขาในเวลาอันสั้น เพื่อขโมยข้อมูลชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password)
จงระมัดระวังอีเมลและข้อความที่คุณได้รับเกี่ยวกับ PayPal และตรวจสอบกับต้นทางให้ดีว่าพวกเขาส่งข้อมูลเหล่านั้นมาจริงหรือไม่ เท่านี้คุณก็จะปลอดภัยจากกลโกงขโมยข้อมูลหรือ Phishing
Author: Amer Owaida
Source: https://www.welivesecurity.com/2021/03/15/paypal-fraud-what-merchants-should-know/
Translated by: Worapon H.
Like this:
ถูกใจ กำลังโหลด...
PayPal เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของโลก และมีตัวแทนกับบริการมากมาย ที่สำคัญเลยก็คือ PayPal มีพ่อค้าแม่ค้ามากกว่า 28 ล้านราย
แต่นอกจาก PayPal แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับรายใหญ่อย่าง Sony หรือ Microsoft ผู้ให้บริการรายย่อยไม่ได้มีเวลาในการเตรียมรับมือเหตุการณ์ความปลอดภัยไซเบอร์ หรือผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันองค์กรจากการโจมตีและแฮกเกอร์
ชำระเงินเกิน (Overpayment)
กลโกงมาตรฐานที่มิจฉาชีพออนไลน์ใช้กัน ไม่ได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มของ PayPal ในหลายแพลตฟอร์มก็มีกลโกงแบบเดียวกันนี้ โดยพวกเขาจะส่งสลิปการชำระเงินเข้ามาให้พ่อค้าแม่ค้าโดยแจ้งว่าพวกเขาชำระเงินเกิน หรือชำระเงินไม่ถูกต้อง และต้องการให้พ่อค้าแม่ค้าโอนส่วนต่างกลับคืนมาให้พวกเขา
โดยที่จริงแล้วพวกเขาไม่ได้โอนเงินตั้งแต่แรก หรือโอนมาจำนวนน้อยกว่านั้น และตัดต่อภาพสลิปก่อนที่จะส่งให้กับผู้ขาย วิธีการที่จะรับมือผู้ขายจะต้องตรวจสอบจำนวนเงินที่ชำระเข้ามาให้ถี่ถ้วน
ส่งหรือไม่ส่ง
กลโกงนี้เป็นกลโกงการขนส่งที่มิจฉาชีพใช้ โดยพวกเขาจะพยายามโน้มน้าวให้ผู้ขายใช้บัญชีขนส่งของพวกเขา ซึ่งได้รับส่วนลดมากกว่าปกติ หากผู้ขายหลงกลสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ พวกเขาจะส่งของไปยังพื้นที่ๆใกล้เคียง นี่เป็นสาเหตุที่ค่าบริการถูกกว่าปกติ แล้วทำเหมือนของชิ้นนั้นไม่ได้ถูกส่งตั้งแต่แรก กลับมาทางฝั่งผู้ขายก็ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เพราะใช้บัญชีของมิจฉาชีพ ซึ่งทำให้เสียทั้งของและเงินค่าบริการ
วิธีการรับมืออาจไม่ยากอย่างที่คิด ใช้งานผู้ให้บริการที่คุณคุ้นเคย และใช้บัญชีของตัวเองเท่านั้นในการดำเนินการส่งของ สุดท้ายจงระมัดระวังข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง
หลอกลวงข้อมูล (Phishing)
PayPal เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ถูกแฮกเกอร์โจมตีมากที่สุด เหตุผลง่ายๆก็คือพวกเขามีผู้ใช้มากมาย กลโกงหลอกข้อมูลที่พวกเขาใช้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นการส่งข้อความไปยังผู้ขายว่า บัญชี PayPal ของคุณถูกระงับการใช้งาน และบีบให้ผู้ขายส่งข้อมูลล็อคอินให้พวกเขาในเวลาอันสั้น เพื่อขโมยข้อมูลชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password)
จงระมัดระวังอีเมลและข้อความที่คุณได้รับเกี่ยวกับ PayPal และตรวจสอบกับต้นทางให้ดีว่าพวกเขาส่งข้อมูลเหล่านั้นมาจริงหรือไม่ เท่านี้คุณก็จะปลอดภัยจากกลโกงขโมยข้อมูลหรือ Phishing
Author: Amer Owaida
Source: https://www.welivesecurity.com/2021/03/15/paypal-fraud-what-merchants-should-know/
Translated by: Worapon H.
Share this:
Like this: