ก่อนหน้านี้เราพูดถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ และในบทความนี้จะเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับสมาร์ทโฟน
ล็อคหน้าจอ (Lock-Screen)
ล็อคหน้าจอโทรศัพท์ของคุณ เชื่อหรือไม่ว่าประชากร 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันไม่ตั้งค่าล็อคหน้าจอ แต่อย่างน้อยเราก็ขอให้หลีกเลี่ยง PIN เป็น 1234 หรือรูปแบบรูปตัว L ถ้าจะให้ดีขอให้ใช้ลายนิ้วมือหรือการสแกนใบหน้า
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นจากแหล่ง Official Store
การรูท (Root) หรือเจลเบรค (Jailbreak) เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตไม่แนะนำ เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แหล่งดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบุคคลที่สาม ไม่มีการคัดกรองที่เข้มงวดเมื่อเทียบกับ App Store ของ iOS และ Play Store ของ Google
อ่านการอนุญาตแอปพลิเคชั่น (App Permission)
แอปพลิเคชั่นมีการใช้งานฟังก์ชั่นแตกต่างกันไป และจำเป็นต้องขออนุญาตเข้าถึงส่วนต่างๆของสมาร์ทโฟนหรือเรียกว่า App Permission ซึ่งในฐานะผู้ใช้เราจำเป็นต้องอ่านว่าพวกเขาเข้าถึงข้อมูลส่วนใดของเราบ้าง สอดคล้องกับการใช้งานแอปพลิเคชั่นหรือเปล่า
ใช้งานโปรแกรมรักษาความปลอดภัย (Security Software)
คนส่วนมักไม่ใช้งานซอฟต์แวร์ความปลอดภัยบนสมาร์ทโฟน แต่อย่าลืมว่าสมาร์ทโฟนก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และเราก็เคยประสบกับเหตุการณ์ที่สมาร์ทโฟนโดนโจมตีไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์
สำรองข้อมูลและแพทช์
การสำรองข้อมูลเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะมีการโจมตีที่ล็อคหรือทำลายไฟล์ และอัพเดตแพทช์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ เพื่ออุดช่องโหว่ของซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ
ล้างก่อนทิ้ง
คุณอาจมีประสบการณ์ขายสมาร์ทโฟนหรือยกให้คนอื่น มีหลายขั้นตอนต้องทำก่อน เช่นการล้างข้อมูลหรือ Wipe Data (ไม่ใช่แค่ลบ) เพราะการลบข้อมูลสามารถกู้คืนได้เพียงมีโปรแกรม หรืออย่างน้อยก็คืนค่าโรงงานหรือ Factory Reset
สายปริศนาและข้อความปลอม
มิจฉาชีพออนไลน์มาได้หลายรูปแบบ ทั้งอีเมล เบอร์โทรศัพท์ และข้อความ ซึ่งอาจติดต่อมาเพื่อหลอกให้เราติดตั้งมัลแวร์ หรือขโมยข้อมูลสำคัญอย่างบัตรเครดิต/เดบิตและข้อมูลส่วนตัว เพราะฉะนั้นให้ระวังการติดต่อจากคนที่ไม่รู้จัก
ไม่เกิดขึ้นกับเราหรอก
หากคุณไม่เคยเผชิญกับเหตุการณ์ความปลอดภัยแบบจริงๆจังๆ อาจคิดว่าตัวเองปลอดภัยหรือเล็กเกินไปที่จะโดนโจมตี แต่เชื่อเราเถอะ ในระยะยาวเหตุการณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับคุณก็ได้ และการเตรียมตัวนั้นก็จะช่วยลดความเสียหาย
Author: Omer Owaida
Source: https://www.welivesecurity.com/2019/12/31/20-tips-2020-be-smarter-your-smartphone/
Translated by: Worapon H.
Like this:
ถูกใจ กำลังโหลด...
ก่อนหน้านี้เราพูดถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ และในบทความนี้จะเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับสมาร์ทโฟน
ล็อคหน้าจอ (Lock-Screen)
ล็อคหน้าจอโทรศัพท์ของคุณ เชื่อหรือไม่ว่าประชากร 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันไม่ตั้งค่าล็อคหน้าจอ แต่อย่างน้อยเราก็ขอให้หลีกเลี่ยง PIN เป็น 1234 หรือรูปแบบรูปตัว L ถ้าจะให้ดีขอให้ใช้ลายนิ้วมือหรือการสแกนใบหน้า
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นจากแหล่ง Official Store
การรูท (Root) หรือเจลเบรค (Jailbreak) เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตไม่แนะนำ เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แหล่งดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบุคคลที่สาม ไม่มีการคัดกรองที่เข้มงวดเมื่อเทียบกับ App Store ของ iOS และ Play Store ของ Google
อ่านการอนุญาตแอปพลิเคชั่น (App Permission)
แอปพลิเคชั่นมีการใช้งานฟังก์ชั่นแตกต่างกันไป และจำเป็นต้องขออนุญาตเข้าถึงส่วนต่างๆของสมาร์ทโฟนหรือเรียกว่า App Permission ซึ่งในฐานะผู้ใช้เราจำเป็นต้องอ่านว่าพวกเขาเข้าถึงข้อมูลส่วนใดของเราบ้าง สอดคล้องกับการใช้งานแอปพลิเคชั่นหรือเปล่า
ใช้งานโปรแกรมรักษาความปลอดภัย (Security Software)
คนส่วนมักไม่ใช้งานซอฟต์แวร์ความปลอดภัยบนสมาร์ทโฟน แต่อย่าลืมว่าสมาร์ทโฟนก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และเราก็เคยประสบกับเหตุการณ์ที่สมาร์ทโฟนโดนโจมตีไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์
สำรองข้อมูลและแพทช์
การสำรองข้อมูลเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะมีการโจมตีที่ล็อคหรือทำลายไฟล์ และอัพเดตแพทช์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ เพื่ออุดช่องโหว่ของซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ
ล้างก่อนทิ้ง
คุณอาจมีประสบการณ์ขายสมาร์ทโฟนหรือยกให้คนอื่น มีหลายขั้นตอนต้องทำก่อน เช่นการล้างข้อมูลหรือ Wipe Data (ไม่ใช่แค่ลบ) เพราะการลบข้อมูลสามารถกู้คืนได้เพียงมีโปรแกรม หรืออย่างน้อยก็คืนค่าโรงงานหรือ Factory Reset
สายปริศนาและข้อความปลอม
มิจฉาชีพออนไลน์มาได้หลายรูปแบบ ทั้งอีเมล เบอร์โทรศัพท์ และข้อความ ซึ่งอาจติดต่อมาเพื่อหลอกให้เราติดตั้งมัลแวร์ หรือขโมยข้อมูลสำคัญอย่างบัตรเครดิต/เดบิตและข้อมูลส่วนตัว เพราะฉะนั้นให้ระวังการติดต่อจากคนที่ไม่รู้จัก
ไม่เกิดขึ้นกับเราหรอก
หากคุณไม่เคยเผชิญกับเหตุการณ์ความปลอดภัยแบบจริงๆจังๆ อาจคิดว่าตัวเองปลอดภัยหรือเล็กเกินไปที่จะโดนโจมตี แต่เชื่อเราเถอะ ในระยะยาวเหตุการณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับคุณก็ได้ และการเตรียมตัวนั้นก็จะช่วยลดความเสียหาย
Author: Omer Owaida
Source: https://www.welivesecurity.com/2019/12/31/20-tips-2020-be-smarter-your-smartphone/
Translated by: Worapon H.
Share this:
Like this: