ในปี 2020 นี้สิ่งที่น่าจับตามองในวงการไซเบอร์มีอยู่ 3 ประเด็นหลักๆได้แก่ ข่าวปลอม (Fake News) ข้อมูลผิดพลาดและโฆษณาชวนเชื่อ การเลือกตั้งออนไลน์ของสหรัฐฯ
ข่าวปลอม (Fake News)
ข่าวปลอมเป็นสิ่งเราเจอได้อยู่ทุกวันบนโลกออนไลน์ ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านว่าจริงๆหรือไม่จริง โดยข่าวปลอมจะมีจุดประสงค์ต่างกัน เช่น แสวงหาผลกำไร ผลประโยชน์ทางการเมือง หลอกลวง และการเล่นแผลงๆเพื่อให้เกิดกระแส
ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากเราอ่านข่าวจากโซเชี่ยลมีเดีย หลายประเด็นที่เป็นจุดสนใจจะมีข้อมูลที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ หลายองค์กรมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้อยู่ อย่างที่ Twitter ประกาศหามไม่ให้มีการลงโฆษณาเกี่ยวกับตัวผู้ลงสมัครเลือกตั้งของปี 2020
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้ความเป็นว่าข่าวปลอมมีความรุนแรงไม่ต่างจากไวรัสมัลแวร์ และแนะนำว่าความรู้จะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว อย่างที่รัฐบาลของอังกฤษให้เพิ่มการเรียนเกี่ยวกับการยืนยันความถูกต้องและความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ เพื่อให้เด็กๆสามารถแยกแยะข่าวปลอมได้
ข้อมูลที่บิดเบือนและโฆษณาชวนเชื่อ
มีคำๆหนึ่งที่ได้จากข่าวขายข้อมูลของ Facebook คือคำว่า “if you aren’t pay for it, then you are the product” แปลว่า “ถ้าคุณไม่ได้จ่ายเงินให้สิ่งนั้น คุณก็คือสินค้าตัวหนึ่ง” ซึ่ง Facebook ทำเงินไปมากกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากการขายข้อมูลผู้ใช้
ปัจจุบันข้อมูลเปรียบเสมือนอาวุธชิ้นหนึ่ง และข้อมูลที่ผิดพลาดและโฆษณาชวนเชื่อก็เป็นอีกทางหนึ่งของอาวุธทีใช้ในการสร้างความเสียหายหรือทำเงิน พวกเขาทำการเก็บข้อมูลอย่างลับๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเลือกตั้งออนไลน์ของสหรัฐฯ
หลายรัฐในสหรัฐฯลงทุนหลายล้านเหรียญเพื่ออัพเกรตระบบที่จะใช้สำหรับการเลือกตั้งในปี 2020 นี้ แต่ความเป็นระบบอย่างไรก็ต้องมีช่องโหว่ ซึ่งต้องยอมรับว่าที่ผ่านๆมาการล้วงข้อมูลและการเจาะระบบองค์กรนั้นเห็นได้บ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้น
Author: Tony Anscombe
Source: https://www.welivesecurity.com/wp-content/uploads/2019/12/ESET_Cybersecurity_Trends_2020.pdf
Translated by: Worapon H.
Like this:
ถูกใจ กำลังโหลด...
ในปี 2020 นี้สิ่งที่น่าจับตามองในวงการไซเบอร์มีอยู่ 3 ประเด็นหลักๆได้แก่ ข่าวปลอม (Fake News) ข้อมูลผิดพลาดและโฆษณาชวนเชื่อ การเลือกตั้งออนไลน์ของสหรัฐฯ
ข่าวปลอม (Fake News)
ข่าวปลอมเป็นสิ่งเราเจอได้อยู่ทุกวันบนโลกออนไลน์ ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านว่าจริงๆหรือไม่จริง โดยข่าวปลอมจะมีจุดประสงค์ต่างกัน เช่น แสวงหาผลกำไร ผลประโยชน์ทางการเมือง หลอกลวง และการเล่นแผลงๆเพื่อให้เกิดกระแส
ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากเราอ่านข่าวจากโซเชี่ยลมีเดีย หลายประเด็นที่เป็นจุดสนใจจะมีข้อมูลที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ หลายองค์กรมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้อยู่ อย่างที่ Twitter ประกาศหามไม่ให้มีการลงโฆษณาเกี่ยวกับตัวผู้ลงสมัครเลือกตั้งของปี 2020
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้ความเป็นว่าข่าวปลอมมีความรุนแรงไม่ต่างจากไวรัสมัลแวร์ และแนะนำว่าความรู้จะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว อย่างที่รัฐบาลของอังกฤษให้เพิ่มการเรียนเกี่ยวกับการยืนยันความถูกต้องและความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ เพื่อให้เด็กๆสามารถแยกแยะข่าวปลอมได้
ข้อมูลที่บิดเบือนและโฆษณาชวนเชื่อ
มีคำๆหนึ่งที่ได้จากข่าวขายข้อมูลของ Facebook คือคำว่า “if you aren’t pay for it, then you are the product” แปลว่า “ถ้าคุณไม่ได้จ่ายเงินให้สิ่งนั้น คุณก็คือสินค้าตัวหนึ่ง” ซึ่ง Facebook ทำเงินไปมากกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากการขายข้อมูลผู้ใช้
ปัจจุบันข้อมูลเปรียบเสมือนอาวุธชิ้นหนึ่ง และข้อมูลที่ผิดพลาดและโฆษณาชวนเชื่อก็เป็นอีกทางหนึ่งของอาวุธทีใช้ในการสร้างความเสียหายหรือทำเงิน พวกเขาทำการเก็บข้อมูลอย่างลับๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเลือกตั้งออนไลน์ของสหรัฐฯ
หลายรัฐในสหรัฐฯลงทุนหลายล้านเหรียญเพื่ออัพเกรตระบบที่จะใช้สำหรับการเลือกตั้งในปี 2020 นี้ แต่ความเป็นระบบอย่างไรก็ต้องมีช่องโหว่ ซึ่งต้องยอมรับว่าที่ผ่านๆมาการล้วงข้อมูลและการเจาะระบบองค์กรนั้นเห็นได้บ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้น
Author: Tony Anscombe
Source: https://www.welivesecurity.com/wp-content/uploads/2019/12/ESET_Cybersecurity_Trends_2020.pdf
Translated by: Worapon H.
Share this:
Like this: