การเลือกตั้งออนไลน์เป็นไปได้หรือไม่?
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเลือกตั้งออนไลน์ในหลายพื้นที่ ทั้งในหลายประเทศ รวมถึงประเทศใหญ่ๆด้วย และก็มีคำถามเกิดขึ้นว่าการโจมตีไซเบอร์จะมีอิทธิพลมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้หรือไม่?
มี 2 ปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือ อิทธิพลของโซเชี่ยลมีเดียที่มีต่อสาธารณะ โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีนัยทางการเมือง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของรัฐบาล
ระบบการเลือกตั้งออนไลน์
เป็นหน้าที่ของเทคโนโลยีที่จะจัดการกับกระบวนการเลือกตั้ง ในประเทศอย่าง บราซิล อาเจนติน่า เยอรมนี และสหรัฐฯ มีการเลือกตั้งออนไลน์ในเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เพื่อเพิ่มความเร็วในการนับคะแนน และลดการใช้กระดาษ
แม้เราจะปฏิเสธการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีไม่ได้ การให้ความสำคัญน่าจะพอควบคุมได้ เพราะสิ่งที่ควรทำก็คือการเพิ่มความปลอดภัยให้กับกระบวนการการเลือกตั้ง แทนที่จะเพิ่มลูกเล่นใหม่ๆที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับกระบวนการเลือกตั้ง
ยกตัวอย่างในปี 2006 โปรแกรมเมอร์และผู้ร่วมก่อตั้ง ROMmon ชาวฟินแลนด์ นาย Harri Hursti สาธิตวิธีการแฮกในเอกสาร Hacking Democracy ว่าระบบโหวต Diebold ที่ใช้ในเขต Leon ของรัฐ Florida สามารถถูกแฮกได้โดยการใช้การ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) ซึ่งเขาสามารถเปลี่ยนแปลงผลโหวตทั้งหมดโดยไร้ร่องรอย
ผ่านมา 10 ปี ในกล่องเลือกตั้งของประเทศบราซิล พบปัญหาที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2012 ที่ทำให้สามารถแฮกระบบโหวตได้ หลังเหตุการณ์นั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งก็เลยต้องนำกระดาษกลับมาใช้ (ผสมกับระบบเดิม)
ซึ่งสื่อให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมีส่วนประกอบอื่นๆในกระบวนการเลือกตั้งด้วย เพื่อลดทอนความเสี่ยงและการทุจริต เพื่อความน่าเชื่อถือและเป็นธรรมของการตัดสิน
แฮกเกอร์สามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณะได้

โซเชี่ยลมีเดียกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง ด้วยความสามารถในการเข้าถึงผู้คนในวงกว้างได้พร้อมๆกัน บวกกับการกุข่าวหรือปล่อยข่าวลือนั้นทำได้ง่าย แม้จะในช่วงเวลาสั้นๆ
การโจมตีเหล่านี้สามารถเปลี่ยนหรือเบี่ยงเบนความคิดเห็นของสาธารณะได้ เป็นความท้าทายของความปลอดภัยที่จะคงเสียงโหวตของการเลือกตั้งได้อย่างเป็นกลาง เพราะถึงแม้พรรคการเมืองจะเข้ามามีส่วนร่วมหรือไม่ก็ตาม เหตุการณ์แบบนี้ก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี
ความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับชาติ
ถ้าเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่ปกป้องผู้ใช้เทคโนโลยีก็คือรัฐบาล ด้วยการเพิ่มผู้รับผิดชอบความปลอดภัยไซเบอร์ลงในองค์กร
เพราะในทุกๆก้าวมีความเสี่ยงเข้ามาเสมอ นั่นคือเงื่อนไขที่เราต้องยอมรับหากต้องการจะใช้งานเทคโนโลยี อย่างน้อยที่สุดประโยชน์ที่เราได้รับ ก็ต้องมากกว่าความเสี่ยง
Author: Camilo Gutiérrez Amaya
Source: https://www.welivesecurity.com/2018/04/18/trends-2018-democracy-hack/
Translated by: Worapon H.
Like this:
Like กำลังโหลด...
การเลือกตั้งออนไลน์เป็นไปได้หรือไม่?
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเลือกตั้งออนไลน์ในหลายพื้นที่ ทั้งในหลายประเทศ รวมถึงประเทศใหญ่ๆด้วย และก็มีคำถามเกิดขึ้นว่าการโจมตีไซเบอร์จะมีอิทธิพลมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้หรือไม่?
มี 2 ปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือ อิทธิพลของโซเชี่ยลมีเดียที่มีต่อสาธารณะ โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีนัยทางการเมือง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของรัฐบาล
ระบบการเลือกตั้งออนไลน์
เป็นหน้าที่ของเทคโนโลยีที่จะจัดการกับกระบวนการเลือกตั้ง ในประเทศอย่าง บราซิล อาเจนติน่า เยอรมนี และสหรัฐฯ มีการเลือกตั้งออนไลน์ในเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เพื่อเพิ่มความเร็วในการนับคะแนน และลดการใช้กระดาษ
แม้เราจะปฏิเสธการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีไม่ได้ การให้ความสำคัญน่าจะพอควบคุมได้ เพราะสิ่งที่ควรทำก็คือการเพิ่มความปลอดภัยให้กับกระบวนการการเลือกตั้ง แทนที่จะเพิ่มลูกเล่นใหม่ๆที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับกระบวนการเลือกตั้ง
ยกตัวอย่างในปี 2006 โปรแกรมเมอร์และผู้ร่วมก่อตั้ง ROMmon ชาวฟินแลนด์ นาย Harri Hursti สาธิตวิธีการแฮกในเอกสาร Hacking Democracy ว่าระบบโหวต Diebold ที่ใช้ในเขต Leon ของรัฐ Florida สามารถถูกแฮกได้โดยการใช้การ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) ซึ่งเขาสามารถเปลี่ยนแปลงผลโหวตทั้งหมดโดยไร้ร่องรอย
ผ่านมา 10 ปี ในกล่องเลือกตั้งของประเทศบราซิล พบปัญหาที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2012 ที่ทำให้สามารถแฮกระบบโหวตได้ หลังเหตุการณ์นั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งก็เลยต้องนำกระดาษกลับมาใช้ (ผสมกับระบบเดิม)
ซึ่งสื่อให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมีส่วนประกอบอื่นๆในกระบวนการเลือกตั้งด้วย เพื่อลดทอนความเสี่ยงและการทุจริต เพื่อความน่าเชื่อถือและเป็นธรรมของการตัดสิน
แฮกเกอร์สามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณะได้
โซเชี่ยลมีเดียกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง ด้วยความสามารถในการเข้าถึงผู้คนในวงกว้างได้พร้อมๆกัน บวกกับการกุข่าวหรือปล่อยข่าวลือนั้นทำได้ง่าย แม้จะในช่วงเวลาสั้นๆ
การโจมตีเหล่านี้สามารถเปลี่ยนหรือเบี่ยงเบนความคิดเห็นของสาธารณะได้ เป็นความท้าทายของความปลอดภัยที่จะคงเสียงโหวตของการเลือกตั้งได้อย่างเป็นกลาง เพราะถึงแม้พรรคการเมืองจะเข้ามามีส่วนร่วมหรือไม่ก็ตาม เหตุการณ์แบบนี้ก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี
ความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับชาติ
ถ้าเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่ปกป้องผู้ใช้เทคโนโลยีก็คือรัฐบาล ด้วยการเพิ่มผู้รับผิดชอบความปลอดภัยไซเบอร์ลงในองค์กร
เพราะในทุกๆก้าวมีความเสี่ยงเข้ามาเสมอ นั่นคือเงื่อนไขที่เราต้องยอมรับหากต้องการจะใช้งานเทคโนโลยี อย่างน้อยที่สุดประโยชน์ที่เราได้รับ ก็ต้องมากกว่าความเสี่ยง
Author: Camilo Gutiérrez Amaya
Source: https://www.welivesecurity.com/2018/04/18/trends-2018-democracy-hack/
Translated by: Worapon H.
Share this:
Like this: